หมวดหมู่: สาระน่ารู้

“อาการนอนไม่หลับ” ฟังดูเหมือนจะเป็นเรื่องเล็ก ๆ  แต่อาการนี้อาจจะทำให้หลายคนรู้สึกเครียด จนเสียสุขภาพจิตในที่สุด    ซึ่งถ้าหากใครเป็นแบบนี้ประมาณ 1-2 วัน อาจมีสาเหตุมาจากความเครียดก็ได้ แต่ถ้าหากเกินระยะเวลานานกว่านั้นก็อาจเรียกว่าอาการนอนไม่หลับเป็น “โรคนอนไม่หลับ (Insomnia)”  ซึ่งโรคนอนไม่หลับนี้ก็จะแบ่งอีกเป็นหลายระยะเลยนะคะ จะมีตั้งแต่ชั่วคราวไปจนถึงขั้นเรื้อรังเลย ในวันนี้เราจึงนำเคล็ดลับที่จะช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับมาฝากทุกคนค่ะ

 

  1. งดเครื่องดื่มคาเฟอีนและแอลกอฮอล์

ควรงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  คนส่วนใหญ่อาจคิดว่า การดื่มแอลกอฮอล์นั้นจะช่วยให้หลับสบายยิ่งขึ้น แต่ในความจริงแล้วแอลกอฮอล์ทำให้หลับง่ายขึ้นจริงนะ แต่หลังจากนั้นจะทำให้มีปัญหาหลับ ๆ ตื่น ๆ  กลางดึกได้  ที่สำคัญแอลกอฮอล์ยังส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลีย ทำให้เกิดอาการง่วงตอนกลางวันอีกด้วยค่ะ

 

Aerial view of various coffee

 

  1. ลดความเครียด

ใครที่เกิดความเครียดบ่อย ๆ ก็ควรหากิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลาย อาจจะอ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง เป็นต้น หรืออีกวิธีที่อยากแนะนำ คือ การลุกมาออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที ก็จะช่วยให้ผ่อนคลายได้เช่นกัน เนื่องจากร่างกายของเราจะหลั่งสารสื่อประสาทออกมา จึงช่วยลดความตึงเครียดของระบบประสาทและกล้ามเนื้อได้ดี  ทำให้เรารู้สึกมีสมาธิ สมองปลอดโปร่ง ช่วยให้หลับสบายดียิ่งขึ้น

 

demo 24

  1. ไม่กินอาหารมื้อหนักก่อนนอน

ใครที่จัดหนักจัดเต็มในมื้อเย็น หรือมื้อดึกก่อนนอน จะทำให้คุณหลับยากยิ่งขึ้น ยิ่งถ้าคุณกินอาหารประเภทโปรตีนจากเนื้อสัตว์  ร่างกายเราก็จะยิ่งใช้เวลาย่อยนานขึ้น   หรือบางคนก็ชอบกินแล้วนอนทันที  ก็จะยิ่งรบกวนระบบย่อยมากกว่าเดิม ทำให้รู้สึกไม่สบายท้อง นอนหลับยาก และอาจเกิดอาการกรดไหลย้อนได้อีกด้วยนะคะ

 

demo 24

  1. ปรับเวลานอน ให้เป็นเวลายิ่งขึ้น

การนอนให้เป็นเวลามีความสำคัญมาก ๆ เพราะเป็นการสร้างวินัยให้กับสมองของเรา ทำให้เมื่อถึงเวลานอน ร่างกายเราก็จะง่วงทันที และจะนอนเมื่อรู้สึกง่วงเท่านั้น ควรจะปรับเวลานอนให้เข้าที่ ด้วยการเข้านอนที่เร็วขึ้น ในเวลาเดิมซ้ำ ๆ ทุกวัน เพื่อให้ร่างกายเราได้ปรับตัว และชินกับเวลานอน หากทำอย่างนี้เป็นประจำจนร่างกายรู้เวลา ไม่เพียงแต่ส่งผลให้คุณหลับง่ายขึ้นเท่านั้น และยังช่วยให้ร่างกายเราตื่นเป็นเวลาตามไปด้วย เมื่อนอนตื่นเช้าก็จะทำให้เราได้ทำอะไรหลายๆอย่างอีกด้วยค่ะ

 

3d render of a bedroom

  1. สร้างสภาพแวดล้อมให้น่านอน

สภาพแวดล้อมในห้องมีส่วนชวนพาให้เราหลับได้ดีที่สุด เริ่มด้วยการจัดห้องให้สะอาด อย่าวางของรกเกะกะใกล้ที่นอน และเมื่อใกล้เวลานอนเราก็ควรปิดไฟ หรือหรี่แสงไฟให้เหลือน้อยที่สุด อากาศภายในห้องควรเย็นสบาย ไม่ควรร้อนหรือหนาวจนเกินไป ที่สำคัญอย่าลืมปิดอุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ ให้เรียบร้อยด้วยนะคะ

 

อีกตัวเลือกที่ไม่ควรพลาดในการสร้างสุขภาพที่ดี  ก็คือ เตียงปรับระดับเหมาะสำหรับการพักผ่อน เตียงที่สามารถตอบโจทย์ทุกคนได้ดี  ทำให้นอนหลับได้ดี หลับลึก หลับสบาย ส่งผลให้สุขภาพดีไปด้วย  APP เราจึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างสุขภาพที่ดี  คุณสามารถทดลองสินค้า หรือแวะชมได้ที่ :โชว์รูม บ.เอพีพี บอร์ด ใกล้ BTS สุรศักดิ์

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

 

ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในอนาคตอันใกล้หากมองไปรอบๆ ตัวจะพบว่าประชากรทุก 5 คนจะมีผู้สูงวัยที่มีอายุเกินกว่า 60 ปี 1 คน  โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตระหนักถึงความสำคัญของสถานการณ์ ดังกล่าว และเล็งเห็นถึงความสำคัญในการดูแลรักษาเฉพาะทางสำหรับผู้สูงอายุ จึงดำเนินการสร้างอาคารเพื่อดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจรขึ้น

 

โดยเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2558 อาคารนี้สร้างขึ้นในโอกาสมหามงคลที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมมายุ 60 พรรษา และได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามอาคารว่า “อาคาร ส.ธ.”  ถือเป็นศูนย์การดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการ พรั่งพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก เครื่องมือแพทย์ทันสมัย และการบริหารจัดการที่เอื้อต่อการให้บริการ ผู้สูงอายุอย่างแท้จริง

 

ศ.นพ.รื่นเริง ลีลานุกรม รองผู้อำนวการ ฝ่ายบริการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า อาคาร ส.ธ. ซึ่งมีพื้นที่ 18 ชั้นที่มีหน่วยให้บริการดูแลผู้สูงวัยในทุกๆ ด้าน เริ่มตั้งแต่การตรวจหาอาการผิดปกติของร่างกายในเชิงป้องกันและชะลอความเสื่อม มีคลินิกสูงวัยสุขภาพดี ที่เน้นให้ความรู้ในการปฏิบัติตัวและการวางแผนชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ  เมื่อมีการตรวจพบอาการผิดปกติในระยะเริ่มแรก ก็จะมีการส่งต่อผู้สูงอายุเข้าสู่คลินิกเฉพาะทางที่ตั้งอยู่ในอาคารแห่งนี้เช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ศูนย์พาร์กินสัน ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูผู้สูงอายุ ศูนย์การเดินและเคลื่อนไหว ศูนย์ฝึกสมอง ศูนย์ ฟื้นฟูสมอง ศูนย์สุขภาพชาย ศูนย์ฝึกทักษะการพูด การได้ยิน การกลืน การทรงตัวและการมองเห็น เป็นต้น

 

เพื่อเป็นต้นแบบการดูแลรักษาผู้สูงอายุแบบองค์รวม โดยเน้นการเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันกลุ่มอาการเฉพาะในผู้สูงอายุ เช่น ภาวะหกล้มบ่อย สำลัก ปัญหาการมองเห็น การได้ยิน กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ นอนไม่หลับ ภาวะซึมเศร้า เป็นต้น รวมถึงโรคหรือภาวะร่วมที่เรียกว่าโรคเรื้อรังแบบไม่ติดต่อ ได้แก่ เบาหวาน ความดันสูง ไขมันในเลือดสูง เพื่อเสริมสร้างให้ผู้สูงวัยมีสุขภาพดีขึ้น สามารถใช้ชีวิตในทุกด้านได้อย่างมีความสุข

 

ทั้งนี้ ผู้สูงอายุที่สนใจสามารถใช้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและสิทธิประกันสังคมได้เช่นเดียวกับการเข้ารับบริการในโรงพยาบาลรัฐทั่วไป

 

“แม้ อาคาร ส.ธ. จะยังไม่เปิดให้บริการในทุกส่วน แต่ปัจจุบันก็มีผู้ที่สนใจเข้ามาใช้งานในส่วนที่เปิดให้บริการ และเนื่องจากโรงพยาบาลจุฬาฯ ทำงานควบคู่กับคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาโดยตลอด

นอกเหนือจากการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา โรงพยาบาลจึงมีเป้าหมายในการผลิตองค์ความรู้และบุคคลากรเพื่อดูแลสุขภาพของคนในประเทศ โดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุ ดังนั้น การวิจัยต่างๆ ในอนาคตอาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานในอาคารแห่งนี้

 

Cr :.thaihealth

ปีนี้ใครๆก็ทราบกันดี เทรนด์รักสุขภาพมาแรงแซงโค้ง บางคนได้ดูแลสุขภาพอย่างถูกวิธี แต่ยังมีอีกหลายคนยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี  ในวันนี้เรามีบทความดีๆจากคุณหมอเพื่อเผยเคล็ดลับการสร้างสุขภาพที่ดี ทำได้ แค่เริ่มสร้าง 4 นิสัย ง่ายๆ มาฝากค่ะ แต่ละหัวข้อจะมีอะไรบ้างที่น่าสนใจตามไปดูกันค่ะ

 

1. กินอย่างพอเพียง

demo 24

เมื่ออยากมีสุขภาพที่ดี เราสามารถเลือกกินอาหารที่ดีและมีประโยชน์มากขึ้นได้ค่ะ โดยยึดตามหลักการดังนี้ กินอย่างพอเพียง กิน ‘พอดี’ คือ มีความหวานมันเค็มพอดี และมีความหลากหลาย กิน ‘พออิ่ม’ คือการกินอาหารในปริมาณที่เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกาย และ กิน ‘พอสุข’ เลือกกินอาหารที่มีความอร่อยและอาหารที่เราเลือกทานนั้นทำให้เรามีความสุขได้ ที่สำคัญในหนึ่งวันเราควรกินผักผลไม้ให้ได้อย่างน้อย 400 กรัม หากใครที่ยังไม่เคยกินผัก ก็เริ่มง่ายๆ ด้วยการสั่งอาหารที่มีผัก 1 กำมือต่อมื้อ กินผักให้ครบ 5 สี และควรกินผลไม้ 2-3 ชนิดต่อวัน

 

2. ขยับให้เกินหมื่น

demo 24

ข้อนี้อาจจะยากหน่อย เพราะคนส่วนใหญ่ไม่มีเวลาในการออกกำลังกาย อยากสุขภาพดี ควรเริ่มจากแค่การขยับร่างกายระหว่างวันให้มากขึ้น และค่อยๆ เพิ่มขึ้นทีละนิด ( สะสมการขยับให้ได้ 150 นาทีใน 1 สัปดาห์ หรือเดินให้ได้ 10,000 ก้าวต่อวัน) แค่นี้สุขภาพดีก็เป็นของคุณแล้วค่ะ

 

3. พักผ่อนอย่างมีคุณภาพ

demo 24

ทราบไหมคะว่าการอดนอนนั้นมีผลต่อน้ำหนักตัว และยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆได้อีกด้วย อย่างเช่น โรคเบาหวาน และโรคหัวใจดังนั้น ผู้ใหญ่จึงควรสร้างวินัย( นอนให้ได้ 6-8 ชม. )ต่อคืน จัดการคุณภาพของการนอนและตื่นให้เป็นเวลา เพียงเท่านี้คุณก็สามารถตื่นมาด้วยอารมณ์ที่แจ่มใสพร้อมรับวันใหม่แล้วค่ะ

 

4.เลือกดื่มน้ำเปล่า

demo 24

เครื่องดื่มที่ดีที่สุดคงเป็นอะไรไม่ได้ นอกจาก น้ำเปล่า เราควรดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอที่สุด จึงควรดื่มน้ำให้ได้ 8-10 แก้วต่อวัน และเริ่มต้นสร้างนิสัยลดการดื่มของหวานลง อาจจะเริ่มต้นด้วยการ สั่งเครื่องดื่มที่ลดความหวานลง เพื่อลดปริมาณน้ำตาลที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย

 

อีกตัวเลือกที่ไม่ควรพลาดในการสร้างสุขภาพที่ดี  ก็คือ เตียงปรับระดับเหมาะสำหรับการพักผ่อน เตียงที่สามารถตอบโจทย์ทุกคนได้ดี  ทำให้นอนหลับได้ดี หลับลึก หลับสบาย ส่งผลให้สุขภาพดีไปด้วย  APP เราจึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างสุขภาพที่ดี  คุณสามารถทดลองสินค้า หรือแวะชมได้ที่ :โชว์รูม บ.เอพีพี บอร์ด ใกล้ BTS สุรศักดิ์

 

เป็นลูกเป็นหลานเราก็อยากดูแลปู่ย่าตายายให้ดีที่สุดใช่หรือไม่คะ วันนี้เราเลยนำคุณมาเข้าใจหลักการดูแลผู้สูงอายุที่ถูกต้อง ไม่ได้ยากอย่างที่คุณเคยเข้าใจเลยค่ะ ดังนั้นเรามาดูกันค่ะว่าควรทำอย่าไงกันบ้าง

 

 

demo 24

ดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ

ควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอน ควรแปรงนานประมาณ 2 นาทีนะคะ โดยแปรงให้ทั่วถึง อย่าลืมแปรงลิ้นทุกครั้ง และควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันและเหงือกอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งนะคะ

 

demo 24

ดูแลผู้สูงอายุที่ท้องผูก

หากคุณปู่ย่าตายายของคุณเกิดท้องผูก ควรจะกระตุ้นให้ถ่ายอุจจาระ  โดยให้ขับถ่ายเป็นเวลาในทุกวัน  และจัดสภาพแวดล้อมขณะขับถ่ายให้สะดวก ให้นั่งถ่ายบนโถส้วม นวดหน้าท้องอย่างเบา ๆ ขณะที่นั่งถ่ายอุจจาระ และเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องบ่อย ๆ

และเพื่อป้องกันไม่ให้ท้องผูกซ้ำ ต้องกระตุ้นให้ออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายบ่อย ๆ รับประทานอาหารที่มีกากใยมาก ได้แก่ ผักผลไม้สด ธัญพืช ถั่ว ลูกพรุน ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2-3 ลิตรนะคะ  หลังตื่นนอนตอนเช้าหรือหลังรับประทานอาหารเช้า 30 นาที ดื่มน้ำอุ่น 1-2 แก้ว และฝึกนิสัยการขับถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา ควรนั่งถ่ายครั้งละ 10 นาที หลังจากนั้นก็ประเมินและบันทึกความถี่ของการขับถ่ายอุจจาระ ลักษณะและสีของอุจจาระค่ะ

 

demo 24

ดูแลผู้สูงอายุที่ท้องเสีย

เราควรดูแลช่วยเหลือให้ไปห้องน้ำได้ทัน ซึ่งผู้สูงอายุส่วนมากจะกลั้นอุจจาระไม่ได้ เราควรจัดท่าให้สุขสบายขณะขับถ่าย ควรให้นั่งถ่ายบนโถส้วม แต่ไม่ควรนั่งยอง ๆนะคะ ทำความสะอาดหลังการขับถ่ายด้วยการชำระด้วยน้ำหลังจากนั้นก็ควรซับให้แห้งทุกครั้ง

 

demo 24

 

ดูแลผู้สูงอายุที่มีอาการท้องอืดหรือกรดไหลย้อน

เราควรจัดให้อยู่ในท่าศีรษะสูง 45-60 องศา หลีกเลี่ยงเลยสำหรับการใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่นจนเกินไป งดกิจกรรมที่เพิ่มแรงดันในช่องท้อง เปลี่ยนท่าบ่อย ๆ ให้ท่านได้ลุกนั่งและเดิน

ถ้าไม่อยากให้ท่านท้องอืด ก็ควรให้รับประทานอาหารอย่างช้าๆ ไม่รีบร้อน รับประทานอาหารจำนวนที่พอดี เคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืนทุกครั้ง  และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ทำให้เกิดก๊าซ เช่น ถั่ว หัวผักกาด (หัวไชเท้า) เครื่องเทศ อาหารรสจัด น้ำอัดลม เป็นต้น หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกที่ย่อยยากประเภทไขมันหรืออาหารทอด หลีกเลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่ง และสูบบุหรี่ เพราะจะทำให้กลืนลมมากขึ้น และไม่ดื่มน้ำขณะกำลังรับประทานอาหาร ควรดื่มน้ำหลังอาหาร ไม่ควรนอนหรือออกกำลังกายหนักทันทีหลังจากรับประทานอาหาร

 

demo 24

 

ดูแลผู้สูงอายุด้านการนอนหลับ

ถ้าอยากให้ท่านนอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพ ควรที่จะให้ฝึกการทำสมาธิหรือสวมมนต์ก่อนเข้านอนเพื่อให้จิตใจสงบ

และควรนวดตามร่างกายเพื่อลดอาการปวด และจะทำให้เกิดการผ่อนคลายนอนหลับได้

 

มาร่วมดูแลผู้สูงอายุ เพื่อการใช้ชีวิตที่ดีและสะดวกสบาย เลือกเตียงนอนปรับระดับจากเรานะคะ

ทดลองสินค้า หรือแวะชมได้ที่ :โชว์รูม บ.เอพีพี บอร์ด ใกล้ BTS สุรศักดิ์

เชื่อว่าหลายคนยังไม่รู้จักแผลกดทับ มันคืออะไรกัน  มีลักษณะอย่างไรบ้าง ในวันนี้เราขอพามาทำความรู้จักกับแผลกดทับอย่างกระจ่างสักที  เผื่อเป็นแนวความรู้ที่จะสามารถปฏิบัติดูแลทั้งตัวเองและผู้ป่วยอื่นต่อไป

แผลกดทับ ก็คือบริเวณผิวหนังและกล้ามเนื้อที่เกิดความเสียหาย ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในเวลาไม่กี่ชั่วโมงค่ะ แต่มันจะ ส่งผลกระทบต่อชีวิตเป็นระยะเวลานานหลายเดือนเลยทีเดียวและอาจเป็นสาเหตุของการการเสียชีวิตได้

 

 

สาเหตุหลักๆของแผลกดทับ จะมี 3 ประการ ดังนี้

แรงกดทับ (pressure):  แผลกดทับอาจเกิดได้จากแรงกดทับบนผิวหนังจากการที่เรานั่ง หรือนอนในท่าเดิมนานเกินไปโดยไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ ผู้ใช้รถนั่งคนพิการ ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยง เนื่องจากใช้เวลานั่งบนรถนั่งของคนพิการในแต่ละวันเป็นเวลานานเกินไป  ผู้ที่นอนบนเตียงนานเกินไป และไม่สามารถปรับได้ตามต้องการ หากช่วงเวลานั้นไม่มีการลดแรงกดทับ แผลกดทับก็จะเกิดขึ้นได้ง่ายมาก

การเสียดสี (friction):  การเสียดสีของผิวหนัง จะเป็นการถูไปมาบนผิวหนัง  เช่น  การนอนบนเตียงที่ไม่สามารถปรับระดับได้ หรือ แขน ถูไปมากับล้อที่พักแขนในขณะที่รถนั่งคนพิการเคลื่อนอาจเกิดแผลกดทับได้

แรงเฉือน (shear):  เกิดจากการที่ผิวหนังผู้ป่วยอยู่นิ่งๆ จะถูกยืดหรือบีบเนื่องจากกล้ามเนื้อ หรือกระดูกเคลื่อนที่

และการใช้เตียงนอนผู้ป่วยที่ผิดวิธี เตียงที่ไม่สามารถปรับระดับได้ดีพอ

 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แผลกดทับ

 

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดแผลกดทับ

  • บุคคลที่สุญเสียการรับความรู้สึก
  • บุคคลที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้
  • ความชื้นจากเหงื่อน้ำหรือปัสสาวะ/อุจจาระเล็ดราด

 

 

หัวใจสำคัญในการรักษาแผลกดทับก็คือ ควรลดภาวะเสี่ยงจากการกดทับ ช่วยให้ผู้ป่วยนั้นเกิดแรงกดทับที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งน้อยลง จัดท่าผู้ป่วยให้พลิกตัวทุกๆ  2 ชั่วโมง หากจะนอนตะแคงก็ควรนอนที่ 30 – 45 องศา หนุนศีรษะไม่สูงเกิน 30 องศาและ ไม่นั่งหรือนอนกดทับแผล

 

 

เตียง APP ปรับระดับ เราจึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดการเกิดแผลกดทับ  เตียงปรับระดับที่ออกแบบมาให้ปรับได้ตามสรีระ ปรับได้ตามระดับที่ต้องการ อย่าลืมเลือกเตียงนอนปรับระดับจาก APP นะคะ

ทดลองสินค้า หรือแวะชมได้ที่ :โชว์รูม บ.เอพีพี บอร์ด ใกล้ BTS สุรศักดิ์

เชื่อว่าหลายคนยังไม่รู้จักแผลกดทับ มันคืออะไรกัน  มีลักษณะอย่างไรบ้าง ในวันนี้เราขอพามาทำความรู้จักกับแผลกดทับอย่างกระจ่างสักที  เผื่อเป็นแนวความรู้ที่จะสามารถปฎิบัติดูแลทั้งตัวเองและผู้ป่วยอื่นต่อไป

แผลกดทับ ก็คือบริเวณผิวหนังและกล้ามเนื้อที่เกิดความเสียหาย ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในเวลาไม่กี่ชั่วโมงค่ะ แต่มันจะ ส่งผลกระทบต่อชีวิตเป็นระยะเวลานานหลายเดือนเลยทีเดียวและอาจเป็นสาเหตุของการการเสียชีวิตได้

 

 

เตียง APP ปรับระดับ เราจึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดการเกิดแผลกดทับ  เตียงปรับระดับที่ออกแบบมาให้ปรับได้ตามสรีระ ปรับได้ตามระดับที่ต้องการ อย่าลืมเลือกเตียงนอนปรับระดับจาก APP นะคะ

ทดลองสินค้า หรือแวะชมได้ที่ :โชว์รูม บ.เอพีพี บอร์ด ใกล้ BTS สุรศักดิ์

วิธีปฎิบัติดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยติดบ้านและติดเตียง มีหลายวิธีมากมายที่ให้ผู้คนนำไปปฎิบัติ แต่วันนี้เราได้นำวิธีฟื้นฟูดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่ถูกต้องมาฝากกันค่ะ

 

ปัจจุบันในสังคมไทยของเรานั้นมีผู้สูงอายุมากขึ้นและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และอีกหนึ่งโรคที่จะมีมาพร้อมกับผู้สูงอายุนั้นคือ โรคผู้ป่วยติดเตียงค่ะ  ดังนั้นเรามาดูวิธีการดูแลรักษาพร้อมกับคำแนะนำสำหรับโรคผู้ป่วยติดเตียงกันค่ะ วิธีฟื้นฟูดูแลผู้ป่วยติดเตียง โดย นายแพทย์ พิษณุ สุนทรปิยะพันธ์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู

 

ซึ่งลักษณะของผู้ป่วยจะแบ่งได้   2 กลุ่ม คือ ผู้ป่วยติดบ้าน และผู้ป่วยติดเตียง

อันดับแรก ผู้ป่วยติดบ้าน จะมีลักษณะอาการที่สามารถเคลื่อนไหว เดินภายในบ้านได้ แต่ออกนอกบ้านไม่ได้ต้องอยู่ในพื้นที่จำกัดเท่านั้น

สำหรับผู้ป่วยติดเตียง จะมีลักษณะอาการ คือ ผู้ป่วยที่มีโรค ซึ่งไม่สามารถเคลื่อนไหวตัวเองได้ หรืออาจจะเป็นกล้ามเนื้ออ่อนแรง ดังนั้นเรามาดูวิธีการฟื้นฟูการดูแลผู้ป่วยติดบ้าน จะมีขั้นตอนดังนี้

 

สำหรับผู้สูงวัยที่เป็นผู้ป่วยติดบ้าน คนในครอบครัวนั้นจำเป็นต้องดูแลอาการให้คงสภาพให้มากที่สุด ให้เขาช่วยเหลือตัวเองในระดับพื้นฐานได้ อย่างเช่น ผู้ป่วยที่สามารถข้าห้องน้ำเองได้ ผู้ป่วยสามารถเดินเองได้ แปรงฟันเองได้ ผู้ดูแลจะต้องให้เขา คงสภาพมากที่สุด ระมัดระวังเรื่องการหกล้ม หรืออุบัติเหตุ เล็กๆน้อยๆ เพื่อไม่ให้อาการทรุดลงไปมากกว่าเดิม

 

 

ต่อไปมาดูการฟื้นฟูดูแลผู้ป่วยติดเตียง โดยมีขั้นตอนในการดูแลหลักๆ 3 ข้อ จะเป็นการเน้นในส่วนของผู้ดูแล เพื่อปฏิบัติกับผู้ป่วยได้ถูกต้อง

Related image

 

  • ผู้ป่วยต้องมีคุณภาพชีวิตให้ดีที่สุด และไม่มีแผลกดทับ  ด้านอาหาร ด้านการขับถ่าย การปฏิบัติเหล่านี้ต้องคำนึงถึงความสะอาดและความเหมาะสมอย่างที่สุด
  • ลดภาระที่จะนำผู้ป่วยไปโรงพยาบาล เพราะครอบครัวและผู้ดูแลสามารถดูแลได้ดีเหมือนกัน ดังนั้นไม่มีความจำเป็นเลยที่จะต้องพาไปโรงพยาบาล เพราะในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแต่ละครั้งจะมีค่าใช้จ่ายและมีอุปสรรคในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
  • ควรลดภาระของผู้ดูแลให้น้อยที่สุด  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความร่วมมือกับผู้ดูแลในการขยับหรือยกส่วนต่างๆของตัวผู้ป่วย

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับแนวทางในการฟื้นฟูดูแลผู้ป่วยติดเตียงอย่างถูกวิธี  ทราบกันไปแล้วว่าควรทำอย่างไรบ้าง อีกตัวเลือกที่ไม่ควรพลาด ก็คือ เตียงปรับระดับเหมาะสำหรับผู้ป่วยติดเตียง เตียงที่สามารถตอบโจทย์ผู้สูงอายุและผู้ดูแลได้ดีที่สุด ทำให้การเคลื่อนไหวสะดวกขึ้น  APP เราจึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุติดเตียง ขอแนะนำเตียงปรับระดับที่ออกแบบมาให้ปรับได้ตามสรีระ ให้ผู้สูงอายุมีชีวิตที่ดีขึ้น  เลือกเตียงนอนปรับระดับจาก APP นะคะ

ทดลองสินค้า หรือแวะชมได้ที่ :โชว์รูม บ.เอพีพี บอร์ด ใกล้ BTS สุรศักดิ์

คุณทราบไหมคะว่ากลุ่มอาการที่พบบ่อยในผู้สูงอายุมีอะไรบ้าง อาการที่มักพบบ่อยในผู้สูงอายุ จะเรียกว่า Geriatric Giants  ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการชราภาพของร่างกาย ผลข้างเคียงจากยาต่างๆ และจากหลากหลายโรคที่มารุมเร้า จึงส่งผลต่อสุขภาพและการดูแลตนเองที่เริ่มถดถอยลงไปในทุกวัน  ดังนั้นเรามาดูค่ะกลุ่มอาการที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ นั้นมีอะไรบ้าง

 

demo 24

 

  1. ความผิดปกติในการรับประทานอาหาร อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ปัญหาสุขภาพฟัน ภาวะกลืนลำบาก ความอยากอาหารลดลง น้ำหนักลดตามไปด้วย เป็นต้น
  2. การนอนไม่หลับ ผู้สูงอายุมักมีคุณภาพการนอนที่ลดน้อยลง หลับยากขึ้น ตื่นบ่อยในช่วงกลางคืน หลับไม่ลึกเหมือนที่เคย และตื่นมาไม่สดชื่น นอกจากสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงตามวัย การนอนไม่หลับในผู้สูงอายุอาจมีสาเหตุมาจากภาวะซึมเศร้า ความเครียด วิตกกังวล อาการปวดต่างๆ หรือกรดไหลย้อน

เตียงนอนปรับระดับของ APP ปรับระดับได้เพื่อความสะดวกสบายและมีความปลอดภัย เหมาะสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ

  1. ภาวะสมองเสื่อม ที่พบบ่อยได้บ่อยที่สุดเกิดจากโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเกิดจากการฝ่อของเนื้อสมอง แต่ภาวะสมองเสื่อมสามารถเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ได้อีกด้วย  เช่น เส้นเลือดสมองตีบ โรคต่อมไทรอยด์ การขาดวิตามินบี 12 โรคพาร์กินสัน  เป็นต้น
  2. การกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่อยู่ เกิดได้จากหลายปัจจัย สำหรับผู้สูงอายุที่เกิดภาวะการกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่อยู่ เช่น กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานหย่อนหรืออ่อนล้า กระเพาะปัสสาวะผู้สูงอายุอ่อนไหวเกินไป ความบกพร่องด้านการควบคุมการกลั้นการขับถ่ายจากสมองหรือเส้นประสาท เป็นต้น
  3. ปัญหาในการทรงตัวและการหกล้ม มักพบบ่อยที่สุด เป็นปัญหาสำคัญในผู้สูงอายุเลยค่ะ เนื่องจากกระดูกที่บางพรุนของผู้สูงอายุ ทำให้เกิดกระดูกหักง่าย อาจเกิดปัญหาแทรกซ้อนที่ตามมาจากการผ่าตัดและนอนโรงพยาบาลนาน ผู้สูงอายุอาจมีปัญหาการทรงตัวหรือหกล้มได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน  เช่น ข้อเสื่อม โรคทางสมอง กล้ามเนื้อลีบและอ่อนแรง หรือเส้นเลือดสมองตีบ เป็นต้น
  4. อาการมึนงงเวียนศีรษะ เป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ปัญหานี้เกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น ความดันโลหิตต่ำ ความผิดปกติของหูชั้นในที่เกี่ยวข้องกับการทรงตัว เกิดจากน้ำในหูไม่สมดุล เกิดจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โลหิตจาง เป็นต้น
  5. ปัญหาการมองเห็นและการได้ยิน การมองเห็นและการได้ยินที่ลดลงนั้นจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุอย่างอย่างมาก ซึ่งสาเหตุหนึ่งจากปัญหาเหล่านี้คือ โรคเบาหวาน ต้อหิน ต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม

 

 

เมื่อเข้าสู่วัยที่มากขึ้น การเจ็บป่วยเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นเมื่อการเจ็บป่วยเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ การเคลื่อนไหวก็ลำบาก เราจึงขอเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยดูแลผู้สูงอายุ ขอแนะนำเตียงปรับระดับที่ออกแบบมาให้ปรับได้ได้ตามสรีระ เลือกเตียงนอนปรับระดับจาก APP นะคะ

ทดลองสินค้า หรือแวะชมได้ที่ :โชว์รูม บ.เอพีพี บอร์ด ใกล้ BTS สุรศักดิ์

 

.

 

ผู้สูงอายุ ในสังคมเราทุกวันนี้ มีจำนวนมากขึ้น สังเกตไหมคะ เวลาหันไปทางไหนก็มีแต่ผู้สูงอายุเต็มไปหมด เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่การใช้ชีวิตประจำวันจะไม่สะดวกสบายเหมือนแต่ก่อน ปัญหาสุขภาพเริ่มเสื่อมโทรม ทุกอย่างที่เคยดีก็เริ่มแย่ลง  โดยโรคส่วนใหญ่ที่สามารถพบในผู้สูงอายุ  คือ  โรคที่เกี่ยวกับกระดูก เกี่ยวกับการเดิน หรือการเคลื่อนไหวต่างๆ  มาดูกันว่าโรคในผู้สูงอายุคือโรคไหนบ้าง

 

โรคแรกคือ โรคข้อเสื่อม  จะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่กระดูกอ่อนผิวข้อเป็นหลัก  จะมีอาการปวดและมักเป็นหลังจากที่การใช้ข้อมากเกินกว่าปกติ  อาการอาจจะบวมแดง และจะลดปวดได้เมื่อได้พัก ซึ่งอาการนั้นจะเป็นหายๆ แล้วแต่การใช้งานของข้อว่าจะหนักหรือเบา

 

demo 24

 

  • สิ่งที่กระตุ้นทำให้เป็นโรคข้อเสื่อม
  • เป็นได้เมื่ออายุมากขึ้น
  • เกิดจากการที่เป็นโรคเก๊าท์อยู่แล้ว
  • คนอ้วนมีโอกาสเกิดโรคข้อเสื่อมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเพศหญิง
  • โรคข้อรูมาตอยด์ หรือข้ออักเสบติดเชื้อ
  • ได้รับบาดเจ็บของข้อ การลงน้ำหนักที่กดทับลงผิดข้อ
  • อาชีพการงานที่มีการใช้นิ้วมือมาก

 

ควรทำอย่างไรให้ห่างไกลโรคข้อเสื่อม?

  1. เราควรหมั่นออกกำลังกายและบริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
  2. ไม่ควรนั่งกับพื้นนานๆ หรือทำกิจกรรมที่ต้องก้มเป็นเวลานาน
  3. ควรหลีกเลี่ยงการขึ้นบันไดหรือที่สูงชันเกินไป
  4. หลีกเลี่ยงการยกของหนักๆ
  5. ควรควบคุมอาหารและควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

 

สิ่งที่กระตุ้นทำให้เป็นโรคกระดูกพรุน

  1. ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ
  2. เกิดจากกรรมพันธุ์
  3. ฮอร์โมนลดลง เช่น ในหญิงวัยหมดประจำเดือน
  4. การสูบบุหรี่หรือดื่มสุราเป็นประจำ
  5. การใช้ยาสำหรับโรคบางอย่าง ซึ่งทำให้เกิดการลดความหนาแน่นของกระดูก
  6. ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน มีผลทำให้กระดูกเสื่อมง่าย
  7. ไม่ออกกำลังกาย

 

ควรทำอย่างไรให้ห่างไกลโรคกระดูกพรุน?

  1. ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง
  2. ควรออกกำลังกายเป็นกิจวัตร
  3. งดดื่มสุราและงดสูบบุหรี่

 

 

โรคที่กล่าวไปแล้วนับว่ามีผลกระทบในชีวิตประจำวันอย่างยิ่ง ทั้งเรื่องทางการเดิน  การเคลื่อนไหว การลุก  เป็นต้น

มาสร้างโอกาสใหม่กันและสร้างโลกใบใหม่ให้กับผู้สูงอายุ ให้พวกเขาสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข ลดการพึ่งพาจากคนอื่นให้มาก ให้เขาพึ่งตัวเองได้มากที่สุด

 

เมื่อเข้าสู่วัยที่มากขึ้น  โรคผู้สูงอายุก็มักจะมาหา หน้าที่ของเราคือ ดูแลผู้สูงอายุอย่างดีที่สุด  เลือกเตียงนอนปรับระดับจาก APP นะคะ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ

ทดลองสินค้า หรือแวะชมได้ที่ :โชว์รูม บ.เอพีพี บอร์ด ใกล้ BTS สุรศักดิ์

สังเกตกันมั้ยคะว่าเด็กๆมักจะมีจำนวนชั่วโมงที่นอนเยอะกว่าวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่อย่างเราๆเยอะเลย! จะว่าเด็กๆต้องนอนเพื่อให้ร่างกายได้เติบโตเต็มที่ก็ถูก หรือเป็นเพราะโตขึ้นแล้วมีเรื่องต้องทำเยอะขึ้นก็ใช่ แต่อย่างไรซะ ถึงแม้ว่าจะโตแค่ไหนเราก็ยังควรนอนให้เพียงพอค่ะ เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่และฟื้นฟูร่างกายให้กลับมาสดชื่นแข็งแรงเหมือนเดิมนั่นเอง แล้วเจ้าการนอนให้เพียงพอนั้นเราควรจะนอนแค่ไหนกันล่ะ?

 

มูลนิธิการนอนหลับแห่งชาติ ในสหรัฐอเมริกา หรือ National Sleep Foundation ได้ประกาศระยะเวลานอนที่เหมาะสมในแต่ละช่วงอายุออกมา หลังจากได้มีการวิจัยอย่างละเอียดเพื่อแนะนำช่วงเวลาการนอนที่ิเหมาะสมและดีต่อสุขภาพที่สุดนั่นเองค่ะ อายุเท่าเรานี้ควรจะต้องนอนกี่ชั่วโมงกันนะ? อยากรู้แล้ว ตามมาดูกันเล้ย

 

เด็กแรกเกิด อายุตั้งแต่ 0-3 เดือน ควรจะได้นอนตั้งแต่ 14-17 ชั่วโมงต่อวัน

เด็กทารก อายุตั้งแต่ 4-11 เดือน ควรนอน 12-15 ชั่วโมงต่อวัน

เด็กเล็ก อายุตั้งแต่ 1-2 ขวบ ควรนอน 11-14 ชั่วโมงต่อวัน

วัยอนุบาล อายุตั้งแต่ 3-5 ขวบ ควรนอน 10-13 ชั่วโมงต่อวัน

วัยประถม อายุตั้งแต่ 6-13 ขวบ ควรนอน 9-11 ชั่วโมงต่อวัน

วัยมัธยม อายุตั้งแต่ 14-17 ปี ควรนอน 8-10 ชั่วโมงต่อวัน

วัยรุ่น อายุตั้งแต่ 18-25 ปี ควรนอน 7-9 ชั่วโมงต่อวัน

วัยทำงาน อายุตั้งแต่ 26-64 ปี ควรนอน 7-9 ชั่วโมงต่อวัน เท่ากับตอนวัยรุ่นค่ะ

วัยชรา อายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ควรนอน 7-8 ชั่วโมงต่อวันค่ะ

 

ถึงจะบอกว่าเป็นเวลาที่แนะนำ แต่ในชีวิตจริงอาจจะมีเหตุการณ์พิเศษที่อาจจะทำให้ไม่สามารถนอนได้ตามจำนวนชั่วโมงที่ดีที่สุด ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่ปัญหาค่ะ สำหรับบางคนอาจจะยืดหยุ่น + หรือ – เพิ่มไปซัก 1 ชั่วโมง ก็ยังไม่จัดว่านอนมากหรือน้อยเกินไปนะคะ

 

แต่ถ้าสังเกตดีๆจากลิสต์เวลาด้านบน จะเห็นได้ว่าถึงแม้จะลบ 1 ชั่วโมงออกไปแล้วก็ไม่มีช่วงอายุไหนที่เราควรนอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมงเลยค่ะ นั่นเป็นเพราะว่าการนอนต่ำกว่า 6 ชั่วโมงอยู่บ่อยๆ อาจจะกลายเป็นว่าเรานอนไม่เพียงพอ ถ้าหากว่าเรานอนไม่เพียงพอติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ อาจจะส่งผลถึงสุขภาพในระยะยาวได้ หรือถ้าเป็นเด็กก็จะเจริญเติบโตได้น้อยกว่าที่ควรค่ะ เพราะฉะนั้นพยายามนอนให้ได้มากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวันกันนะคะ

 

 

พูดถึงการควบคุมน้ำหนักขึ้นมาหลายๆคนคงจะนึกไปถึงการออกกำลังกาย ออกไปวิ่ง เต้นแอโรบิค หรือการคุมอาหาร ทานสลัด งดแป้งกันใช้มั้ยล่ะคะ แต่รู้มั้ยเอ่ยว่าจริงๆแล้วเรามีวิธีอื่นๆในการควบคุมน้ำหนักอยู่ด้วย และหนึ่งในนั้นก็คือการ “นอน” นั่นเองค่ะ
ฟังดูไม่น่าเชื่อเท่าไหร่ แต่การนอนที่ถูกวิธีก็จะช่วยให้เราหุ่นดี คุมน้ำหนักได้ดั่งใจเลยเชียวล่ะ ฮั่นแน่ อยากรู้กันแล้วใช่มั้ยว่ามีวิธีง่ายๆขนาดนี้อยู่จริงเหรอ?? งั้นตามไปดูกันเลย

พระเอกมาแล้ว! ฮอร์โมนแลปติน ขอแนะนำตัว

ฮอร์โมนแลปตินคือฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ช่วยคุมน้ำหนักค่ะ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการเผาผลาญในขณะที่เรานอนหลับและทำให้อยากอาหารน้อยลง ซึ่งจะช่วยให้เราควบคุมน้ำหนักได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องทนทรมานกับความรู้สึกหิวกระหายอยากกินอยู่ตลอดเวลา สุดยอดไปเลยใช่มั้ยล่ะ? การที่จะให้ร่างกายของเราหลั่งฮอร์โมนแลปตินเยอะๆนั้น เราควรจะนอนหลับให้นานและลึกเท่าที่จะทำได้ ซึ่งจะยิ่งช่วยให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนนี้ได้ง่ายขึ้น ทำให้ร่างกายลดความอยากอาหารลง ทำให้เราควบคุมการกิน และมีระบบการเผาผลาญอาหารที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทานอาหารในปริมาณที่กำลังพอเหมาะ
หรือก็คือ ยิ่งเรานอนหลับได้ดีแค่ไหน เราก็จะยิ่งมีความหิวกระหายน้อยลงเท่านั้น ทำให้สามารถทานน้อย มีไขมันสะสมน้อย โดยที่ไม่จำเป็นต้องคอยห้ามใจตัวเอง เห็นอะไรก็อยากกินไปซะหมดเหมือนเดิมอีกแล้ว สุดยอดไปเลยใช่มั้ยล่ะคะ แค่การนอนเพียงอย่างเดียวก็ทำได้ขนาดนี้แล้วนะเนี่ย

ตัวร้ายอยู่ทางนี้! ฮอร์โมนเกรลินตัวแสบ เปลี่ยนคนให้กลายเป็นชูชก

ถึงขั้นกลายเป็นปีศาจจอมเขมือบกันได้เลย ถ้าเราโดนฤทธิ์ของฮอร์โมนเกรลินเข้าไป เพราฮอร์โมนตัวนี้จะทำให้เราอยากอาหารแบบควบคุมไม่อยู่ กินแหลกแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัวกันเลยทีเดียว
ซึ่งตรงข้ามกันกับฮอร์โมนแลปติน เจ้าฮอร์โมนเกรลินนี้จะหลั่งออกมามากเมื่อเราอยู่ในสภาวะอดนอน พักผ่อนไม่เพียงพอ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือช่วงที่ต้องอดหลับอดนอนทำงานติดต่อกันนานๆ เรามักจะหยิบนู่นหยิบนี่มากินเรื่อยๆแบบควบคุมไม่ได้ใช่มั้ยล่ะคะ นี่แหละ ฝีมือของเจ้าฮอร์โมนเกรลินเลย!

พักผ่อนดี นอนหลับให้เป็น หุ่นดีได้ไม่ใช่เรื่องยาก

การนอนที่ดีไม่ใช่แค่การทิ้งตัวลงนอนแล้วหลับตาชัตดาวน์ตัวเอง แต่ยังมีรายละเอียดมากกว่านั้นอีก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องท่านอน ของที่ทานก่อนนอน สภาพแวดล้อมภายในห้องนอน ชุดเครื่องนอนต่างๆ และเวลาที่นอนค่ะ
ใช่แล้ว การนอนอย่างมีคุณภาพนั้นตามหลักแล้ว ผู้ใหญ่ควรนอนวันละ 6-8 ชั่วโมง การได้นอนหลับสนิทในระยะเวลานี้ ฮอร์โมน Human Growth Hormone ที่มีไว้เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตหรือซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ จะยิ่งหลั่งออกมามาก ซึ่งจะทำให้ฮอร์โมนตัวนี้ช่วยให้มีการสร้างโปรตีนเพิ่มขึ้น เพิ่มมวลกล้ามเนื้อและทำให้ไขมันที่สะสมในร่างกายลดลง ทำให้ร่างกายของเราหุ่นดีฟิตเปรี๊ยะสุดๆไปเลยล่ะค่ะ
หรือถ้ายังหลับได้ดีไม่พอ ลองจิบน้ำอุ่นสักแก้ว จัดสภาพที่ห้องนอนใหม่ ให้เงียบ มืด และสงบมากขึ้น หรือจะเพิ่มกลิ่นหอมอโรม่าเข้าไป อย่างเช่นกลิ่นคาร์โมมายด์ หรือลาเวนเดอร์ ช่วยให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย ช่วยให้หลับได้ง่ายขึ้นเยอะเลยล่ะค่ะ
Show More Posts